วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 10 วันที่ 30 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

**คาบเรียนนี้เป็นคาบเรียนชดเชย อาจารย์ได้นัดสอบโดยให้นักศึกษาร้องเพลงที่อาจารย์ได้สอนไว้ จำนวน 21 เพลง ให้นักศึกษาร้องคนละ 1 เพลง และเป็นคาบเรียนสุดท้ายของภาคเรียนค่ะ ^____^




วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 9 วันที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)

แผน IEP
   เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศา
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ หรือ เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
**ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนรายบุคคล ควรมีครู ผู้ปกครอง แพทย์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูการศึกษาพิเศษ

1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายระยะยาว กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้ น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้ เป็นต้น
จุดมุ่งหมายระยะสั้น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ เช่น กำหนดได้ว่า
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
* โดยหัวข้อทั้งหมดที่กล่าวมาจะต้องเขียนให้ครบ
ตัวอย่างเช่น
- ใคร                        อรุณ
- อะไร                      กระโดดขาเดียวได้
- เมื่อไหร่/ที่ไหน       กิจกรรมกลางแจ้ง
- ดีขนาดไหน           กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

3. การใช้แผน
    เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมแยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก และจัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สำคัญเมื่อถึงเวลาสอนเด็กอย่าลืมการย่อยงาน
    คุณครูต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.) ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.) ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.) อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
**การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

การจัดทำแผน IEP
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน


ตัวอย่างการเขียนแผน IEP








อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน 
อาจารย์ผู้สอนและผู้จัดทำตัวอย่างแผน IEP








บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 8 วันที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
- การช่วยเหลือเด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
- ให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
** เด็กทั่วไปจะมีช่วงความสนใจประมาณ 10-15 นาที แต่เด็กพิเศษเช่น เด็กดาวน์ซินโดรม จะมีช่วงความสนใจประมาณ  5 นาที ,เด็กสมาธิสั้น จะมีช่วงความสนใจเพียงแค่ 1 นาที

การเลียนแบบ
การเลียนแบบตามคำสั่ง ยกตัวอย่างเหตุการณ์ เช่น
คุณครูจะให้น้องเอ (เด็กดาวน์ซินโดรม) ไปหยิบสีกับน้องบี (เด็กปกติ)
คุณครู : "น้องเอ น้องบี เดินไปหยิบสีให้คุณครูหน่อยสิคะ" (ครูควรเรียกชื่อน้องเอ ที่เป็นเด็กดาวน์ซินโดรมก่อน เพราะจะได้ดึงสติหรือดึงความสนใจของน้อง)
จากนั้นน้องบีก็จะเดินไปหยิบสี โดยที่น้องเอก็จะเดินไปหยิบสีด้วย (น้องเอจะทำตามน้องบี)
**ข้อควรสังเกต
- สังเกตว่าเด็กได้ยินหรือป่าว?
- เด็กรู้จักคำศัพท์ที่เราบอกหรือไม่? (ควรใช้คำศัพท์ง่ายๆ)
- ควรสั่งทีละอย่าง

การรับรู้ (ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5) การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
จากนั้น
ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ (ตัด ฉีก ขยำ ละเลง)
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
**ของเล่นเด็กพิเศษ ควรเป็นชิ้นใหญ่ๆ มีน้ำหนัก

ตัวอย่างของเล่นส่งเสริมให้เด็กดาวน์ซินโดรมใช้เล่นเพื่อเสริมประสบการณ์
- ให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่ม
- ให้เด็กวางคนละชิ้น ต่อไปก็เพิ่มจำนวนชิ้นขึ้นเรื่อยๆ
- คุณครูให้คำแนะนำในการเล่นได้

ความจำ
- จากการสนทนา เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ตัวอย่างเหตุการณ์การเล่นที่สามารถสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก

- สอนเกี่ยวกับจำนวน
- รูปทรงเรขาคณิต
- มิติสัมพันธ์ เช่น ถ้าเด็กอยู่ที่สูงหรืออยู่ที่พื้น ครูพูดคำว่า "บน"หรือ "ล่าง" แล้วให้เด็กพูดตาม

การวางแผนการเตรียมการพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี พูดชมเด็กเสมอ
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว ทำบทเรียนให้สนุก

ประโยชน์จากการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางการเรียนให้กับเด็กพิเศษ
1. เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเองจากการทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
2. เด็กได้รู้จักคำศัพท์ต่างๆจากการสนทนากับคุณครูหรือเพื่อนๆ
3. เด็กเรียนรู้ทักษะทางสังคมจากการเล่นเป็นกลุ่ม
4. เด็กได้ฝึกความจำจากการทำกิจกรรมส่งเสริมความจำต่างๆ
5. เด็กได้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากการเล่นในชีวิตประจำวัน



เพลง..นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูง บินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง..เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลง..แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกวันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
 1 วัน ได้ไข่ 1 ฟอง

เพลง..ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง..ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนาวัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ*)

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน






















วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 7 วันที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เป็นการเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด (เด็กอยากทำอะไรเราก็ให้ทำ) การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า หรือผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ห้ามพูดคำว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" "เดี๋ยวคุณครูทำให้" "ทำเร็วๆ"

เราควรช่วยเมื่อไร?
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (ย่อยงาน)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

ตัวอย่างการย่อยงาน
การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
- กดชักโครกหรือตักน้ำราด
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



กิจกรรมในคาบเรียน

กิจกรรม "วงกลมแห่งจิตใจ"

คำสั่ง : เลือกสีที่ตนเองชอบ แล้วระบายสีให้เป็นวงกลม



ความหมายของสี
สีแดง : เร่าร้อน แรง
สีน้ำเงิน : เงียบขรึม
สีดำ : ลึกลับ
สีขอบนอกสุด : สีน้ำเงิน หมายถึง เงียบขรึม ไม่ค่อยพูดมาก นุ่มลึก

ลักษณะของเส้น : เส้นเป็นระเบียบเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน หมายถึง เป็นคนทำอะไรมีระเบียบ แบบแผน

ลักษณะการติดผลงานร่วมกับผู้อื่น
ติดหลังผลงานคนอื่น : ไม่ค่อยมั่นใจในผลงานของตนเอง ไม่ค่อยระรานผู้อื่น
ติดหน้าผลงานคนอื่น : มั่นใจในผลงานของตนเอง
ติดแล้วทับซ้อนกัน : มีความสามัคคี
ติดแล้วมีช่องว่างระหว่างผลงาน : มีความเป็นตัวของตัวเองสูง




ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรม
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะทางสังคม
- พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ฝึกสมาธิ
- ฝึกความอดทน
- ทักษะการจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- คณิตศาสตร์ : รูปทรงทางคณิตศาสตร์
- มิติสัมพันธ์ : การแบ่งเส้นในการระบายสีวงกลม

จากกิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็ก : ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม สมาธิสั้น และเด็กปกติ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางภาษา


การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม (คำศัพท์เฉพาะตัว)

การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
เช่นเด็กดาวน์ซินโดรม พิการทางสมอง (CP) หรือบกพร่องทางภาษา
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง (ถือว่าไม่ผิดปกติ)

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" " ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด (เด็กพิเศษส่วนมาก)

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า เช่น การสอนตามเหตุการณ์ 
**ยกตัวอย่างเหตุการเด็กจะใส่ผ้ากันเปื้อน คือ ครูเข้าไปถาม โดยแกล้งทำเป็นไม่รู้ว่าเด็กกำลังจะทำอะไร ถ้าเด็กนิ่ง เราก็ลองตอบว่า หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม? ถ้าเด็กพยักหน้าหรือนิ่งครูก็ลองทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดู
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
- ใช้คำถามปลายเปิด

กิจกรรมในคาบเรียน
กิจกรรม "ศิลปะบำบัด"
คำสั่ง
1. ฟังดนตรีที่อาจารย์เปิดให้ฟัง พร้อมลาก*เส้นตรงไปในทิศทางใดก็ได้ที่ได้ฟังเสียงดนตรี 


2. ระบายสีส่วนของเส้นที่ติดกันทุกด้าน

 



ประโยชน์ของกิจกรรม
- ฝึกสมาธิของเด็ก
- ความรู้เรื่องมิติสัมพันธ์
- ความรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต
- พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 5 วันที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม


เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- *ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก เพื่อทำแผน IEP
* การเล่นของเด็กพิเศษ จะเลียนแบบพฤติกรรมจากเพื่อน ครูหรือคนรอบข้าง และครูต้องบันทึกพฤติกรรมตลอด

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน อาจมีเด็กปกติ 3 คนและเด็กพิเศษ 1 คน โดยเด็กปกติจะทำหน้าที่เหมือน"ครู"ให้เด็กพิเศษ
- มีมุมการเล่นเยอะๆ
- *เด็กที่จะประกบเด็กพิเศษควรเป็นเด็กที่เก่ง
- *เวลาเด็กพิเศษทำผลงานศิลปะควรให้เด็กทำเสร็จก่อนแล้วค่อยชวนคุย พูดชม หรือเฝ้ามองห่างๆ ลูบหัว แตะตัวได้


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
- *อุปกรณ์การเล่นควรมีน้อยกว่าจำนวนเด็ก

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน ทำโดย "การพูดนำของครู"

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
- เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ กฎเกณฑ์ในห้องครอบคลุมถึงเด็กพิเศษ *ไม่ได้รับการงดเว้น
- ให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- *ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

กิจกรรมในคาบเรียน
กิจกรรม "ศิลปะบำบัด"
คำสั่ง
1. ฟังดนตรีที่อาจารย์เปิดให้ฟัง พร้อมลากเส้นไปในทิศทางใดก็ได้ที่ได้ฟังเสียงดนตรี 

2. จุดสีที่เป็นวงกลม

3. มองดูว่าลายเส้นที่ได้วาด สามารถเป็นสัตว์ สิ่งของหรือสิ่งอื่นๆอะไรได้บ้าง พร้อมระบายสีลงไป


ประโยชน์ของกิจกรรม
- สามารถฝึกสมาธิของเด็ก
- ฝึกทักษะทางภาษาจากการฟังคำสั่ง
- พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ฝึกให้เด็กมีจินตนาการ


เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรองผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า
บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงแพรวตาเวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะละ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำอบขนมหอมชื่นใจ

เพลง กุหลาบ
กุหลาบงามก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม่มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขัน มันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขัน มันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน