วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 4 วันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


การสอนพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ : มองเด็กให้เป็นเด็ก
การฝึกเพิ่มเติม : การอบรมระยะสั้น การสัมมนา

การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง (พฤติกรรมคล้ายกัน)
- ครูต้องเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน (ชื่อจริง นามสกุล ชื่อเล่น)
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า : การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส : ถ้าโอกาสของเด็กน้อย เราไม่ควรปิดกั้น

การบันทึกพฤติกรรมเด็ก
   บันทึกพฤติกรรมเด็กทุกครั้งที่ทำกิจกรรมการเรียน การเล่น ควรดูอย่างละเอียด เมื่อพบพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นหรือจุดด้อยก็ควรส่งเสริมทั้งสองอย่าง และควรทำเป็นประจำและเป็นระบบ

การสอนโดยบังเอิญ : เป็นการสอนที่ให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ แล้วมีความรู้สอดแทรกในกิจกรรมนั้น เช่น กิจกรรมศิลปะ หรือการเล่น

บทบาทของครู : ต้องพร้อมที่จะพบเด็ก มีความสนใจเด็ก มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีอุปกรณ์มีลักษณะง่ายๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง มีกิจกรรมที่ล่อใจเด็ก และกิจกรรมต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

ตารางประจำวัน
    เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ทำอยู่เป็นประจำ กิจกรรมต้องเรียงเป็นลำดับขั้นตอน และเด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ

ตัวอย่างตารางกิจกรรมของเด็กพิเศษ
- เลนอิสระ, เคลื่อนไหว, เรียนเสริมประสบการณ์, ศิลปะ, เล่นเสรี, รับประทานของว่าง, เรียนดนตรี, เล่นกลางแจ้ง, เล่นเสรี, ทานอาหาร, นอนพักผ่อน, ฟังนิทานหรือเล่น, รอผู้ปกครองมารับ



ทัศนคติของครู
- แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
- เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม

วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา : การชม
- พยักหน้ารับ ยิ้ม รับฟัง
- สัมผัสทางกาย : ลูบหัว กอด หอมแก้ม ถ้าเด็กไม่ค่อยฟังก็เข้าไปกอด

หลักการให้แรงเสริม
- ต้องให้แรงเสริมทันที่ที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
- ชมเฉพาะเรื่องที่เป็นเป้าหมายที่จะสอน เช่น การจับสีวาดภาพ

การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
- การย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

การลดหรือหยุดแรงเสริม
- งดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น

ความคงเส้นคงวา
   เมื่อสอนมาแบบใดมาทั้งเทอม ก็ควรสอนแบบนั้นอยู่ ให้ความสำคัญกับการสอนอยู่เสมอ

กิจกรรมในคาบเรียน : วาดภาพมือ(ที่ใส่ถุงมือไว้)ของตัวเองให้เหมือนมือที่ไม่ได้ใส่ถุงมือให้เหมือนที่สุด


ข้อคิดจากกิจกรรม : การมองและการสังเกตเด็ก เราควรที่จะมองและสังเกตในสิ่งที่เด็กเป็นจริงๆ ไม่ควรใส่ความรู้สึกของตนเองลงไป



เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย 
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี

เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน





วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 3 วันที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม



ครูไม่ควรวินิจฉัย

- การวินิจฉัยคือ การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง 
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้ 
- ครูสันนิษฐานได้เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เพราะเด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา (ไม่ควรพูดย้ำพฤติกรรม)
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่า เด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่า เด็กทำอะไรไม่ได้

ครูควรทำอะไรบ้าง?
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ โดยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ โดยเน้นสังเกตคนที่สงสัยแต่ต้องดูเด็กทุกคน (โดยภาพรวม) เพราะไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู ซึ่งครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า โดยสังเกตเป็นช่วงกิจกรรม

ประโยชน์ของการตรวจสอบ
    จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต มี 3 แบบ คือ
แบบที่ 1. การนับอย่างง่ายๆ : นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมกี่คร้ังในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง รวมถึงระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
แบบที่ 2. การบันทึกต่อเนื่อง : ให้รายละเอียดได้มาก บันทึกได้ทุกช่วง สามารถบันทึกพฤติกรรม บันทึกคำพูดเป็นคำๆ เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด และเห็นภาพรวมมากที่สุด
แบบที่ 3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง : เป็นการบันทึกลงในบัตรเล็กๆ บันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน บันทึกแค่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง แค่ช่วงเวลาสั้นๆ

    การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป : ครูควรเอาใจใส่ระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง 
    การตัดสินใจของครู : ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวังว่า พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำไปใช้
1. ครูไม่ควรวินิจฉัยว่าเด็กเป็นอะไร แต่สันนิษฐานได้ เพื่อเป็นข้อมูล
2. ไม่ควรตั้งฉายาให้เด็ก
3. ควรจดพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ โดยการเขียนทุกอย่างที่เด็กพูด จดทุกอย่างที่เด็กทำ และเขียนความจริง
4. ควรคิดเสมอว่า พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

กิจกรรมในคาบเรียน : วาดดอกกุหลาบตามตัวอย่างที่กำหนดให้ พร้อมเขียนคำบรรยายภาพจากสิ่งที่ตนเองได้เห็น



จากกิจกรรม สามารถสื่อถึงวิชานี้ได้ว่า : ในการสังเกตเด็ก เราควรสังเกตแล้วจดบันทึกในสิ่งที่เห็น จดบันทึกตามความเป็นจริง โดยที่ไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วย

เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 2 วันที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


ความรู้ที่ได้รับ


รูปแบบการจัดการศึกษา
1. การศึกษาแบบปกติทั่วไป (Regular Education)
2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
3. การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
4. การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม คือ
    การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละวัน ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การศึกษาแบบเรียนร่วมมี 2 แบบ คือ
แบบที่ 1. การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
    - การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา ในวิชาดนตรี ศิลปะ เคลื่อนไหว
    - เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
    - เหมาะกับเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ มาเรียนได้แค่บางช่วงเวลา

แบบที่ 2. การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
    - จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
    - เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
    - เหมาะกับเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับน้อย
    - เด็กอยู่ในการดูแลของศูนย์การศึกษาพิเศษหรือศูนย์บำบัด



การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
    เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา มีสถานะเหมือนเด็กที่เรียนปกติ มีการจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล และโรงเรียนจะเป็นผู้รับผิดชอบเด็ก ที่สำคัญเด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
    - ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเรียนรู้
    - พึงคิดเสมอว่า "สอนได้"
    - เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
    - เป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้
    - เป็นวัยที่ซึมซับดี เรียนรู้ง่าย
    - ให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางสังคม เรียนรู้ความแตกต่างของผู้อื่น


การนำไปใช้

1.ในการศึกษาพิเศษ ครูปฐมวัยกับครูการศึกษาพิเศษควรร่วมมือกัน
2. การเรียนร่วมบางเวลา ควรจัดให้เด็กพิเศษเรียนในช่วงเวลาในวิชาดนตรี ศิลปะ เคลื่อนไหว
3. ควรแจ้งเด็กในห้องเรียนก่อนว่ามีเด็กพิเศษมาเรียนด้วย อาจใช้คำพูดว่า "วันนี้มีเพื่อนมาเรียนกับเราด้วย แต่เพื่อนป่วย ครูจึงอยากให้เด็กๆทุกคนช่วยดูแลเพื่อนกัน"
4. ควรระวังอย่าให้เด็กนำจุดด้อยของเพื่อนมาล้อเลียน
5. อย่าดูถูกเด็กว่าทำไม่ได้ ให้เชื่อเสมอว่าเด็กทำได้

เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าล้างตา ฟอกสบู่ถูตัว
ชำระเหงื่อไคล ราดน้ำให้ทั่ว เสร็จแล้วเช็ดตัว
เราไม่ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ

เพลง แปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงงฟัน ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

เพลง พี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย   พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย   ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน   เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทาน   สนุกสุขใจ
เราเรียนเราเล่น   เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใส เมื่อมาโรงเรียน

**ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ