วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 7 วันที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เป็นการเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด (เด็กอยากทำอะไรเราก็ให้ทำ) การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า หรือผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ห้ามพูดคำว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" "เดี๋ยวคุณครูทำให้" "ทำเร็วๆ"

เราควรช่วยเมื่อไร?
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (ย่อยงาน)
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

ตัวอย่างการย่อยงาน
การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
- กดชักโครกหรือตักน้ำราด
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



กิจกรรมในคาบเรียน

กิจกรรม "วงกลมแห่งจิตใจ"

คำสั่ง : เลือกสีที่ตนเองชอบ แล้วระบายสีให้เป็นวงกลม



ความหมายของสี
สีแดง : เร่าร้อน แรง
สีน้ำเงิน : เงียบขรึม
สีดำ : ลึกลับ
สีขอบนอกสุด : สีน้ำเงิน หมายถึง เงียบขรึม ไม่ค่อยพูดมาก นุ่มลึก

ลักษณะของเส้น : เส้นเป็นระเบียบเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน หมายถึง เป็นคนทำอะไรมีระเบียบ แบบแผน

ลักษณะการติดผลงานร่วมกับผู้อื่น
ติดหลังผลงานคนอื่น : ไม่ค่อยมั่นใจในผลงานของตนเอง ไม่ค่อยระรานผู้อื่น
ติดหน้าผลงานคนอื่น : มั่นใจในผลงานของตนเอง
ติดแล้วทับซ้อนกัน : มีความสามัคคี
ติดแล้วมีช่องว่างระหว่างผลงาน : มีความเป็นตัวของตัวเองสูง




ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรม
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะทางสังคม
- พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ฝึกสมาธิ
- ฝึกความอดทน
- ทักษะการจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- คณิตศาสตร์ : รูปทรงทางคณิตศาสตร์
- มิติสัมพันธ์ : การแบ่งเส้นในการระบายสีวงกลม

จากกิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็ก : ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม สมาธิสั้น และเด็กปกติ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางภาษา


การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม (คำศัพท์เฉพาะตัว)

การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
เช่นเด็กดาวน์ซินโดรม พิการทางสมอง (CP) หรือบกพร่องทางภาษา
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง (ถือว่าไม่ผิดปกติ)

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" " ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด (เด็กพิเศษส่วนมาก)

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า เช่น การสอนตามเหตุการณ์ 
**ยกตัวอย่างเหตุการเด็กจะใส่ผ้ากันเปื้อน คือ ครูเข้าไปถาม โดยแกล้งทำเป็นไม่รู้ว่าเด็กกำลังจะทำอะไร ถ้าเด็กนิ่ง เราก็ลองตอบว่า หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม? ถ้าเด็กพยักหน้าหรือนิ่งครูก็ลองทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดู
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
- ใช้คำถามปลายเปิด

กิจกรรมในคาบเรียน
กิจกรรม "ศิลปะบำบัด"
คำสั่ง
1. ฟังดนตรีที่อาจารย์เปิดให้ฟัง พร้อมลาก*เส้นตรงไปในทิศทางใดก็ได้ที่ได้ฟังเสียงดนตรี 


2. ระบายสีส่วนของเส้นที่ติดกันทุกด้าน

 



ประโยชน์ของกิจกรรม
- ฝึกสมาธิของเด็ก
- ความรู้เรื่องมิติสัมพันธ์
- ความรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต
- พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 5 วันที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม


เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- *ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก เพื่อทำแผน IEP
* การเล่นของเด็กพิเศษ จะเลียนแบบพฤติกรรมจากเพื่อน ครูหรือคนรอบข้าง และครูต้องบันทึกพฤติกรรมตลอด

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน อาจมีเด็กปกติ 3 คนและเด็กพิเศษ 1 คน โดยเด็กปกติจะทำหน้าที่เหมือน"ครู"ให้เด็กพิเศษ
- มีมุมการเล่นเยอะๆ
- *เด็กที่จะประกบเด็กพิเศษควรเป็นเด็กที่เก่ง
- *เวลาเด็กพิเศษทำผลงานศิลปะควรให้เด็กทำเสร็จก่อนแล้วค่อยชวนคุย พูดชม หรือเฝ้ามองห่างๆ ลูบหัว แตะตัวได้


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
- *อุปกรณ์การเล่นควรมีน้อยกว่าจำนวนเด็ก

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน ทำโดย "การพูดนำของครู"

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
- เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ กฎเกณฑ์ในห้องครอบคลุมถึงเด็กพิเศษ *ไม่ได้รับการงดเว้น
- ให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- *ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

กิจกรรมในคาบเรียน
กิจกรรม "ศิลปะบำบัด"
คำสั่ง
1. ฟังดนตรีที่อาจารย์เปิดให้ฟัง พร้อมลากเส้นไปในทิศทางใดก็ได้ที่ได้ฟังเสียงดนตรี 

2. จุดสีที่เป็นวงกลม

3. มองดูว่าลายเส้นที่ได้วาด สามารถเป็นสัตว์ สิ่งของหรือสิ่งอื่นๆอะไรได้บ้าง พร้อมระบายสีลงไป


ประโยชน์ของกิจกรรม
- สามารถฝึกสมาธิของเด็ก
- ฝึกทักษะทางภาษาจากการฟังคำสั่ง
- พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ฝึกให้เด็กมีจินตนาการ


เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรองผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า
บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงแพรวตาเวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะละ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำอบขนมหอมชื่นใจ

เพลง กุหลาบ
กุหลาบงามก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม่มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขัน มันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขัน มันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน