วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน 

วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 3 วันที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม



ครูไม่ควรวินิจฉัย

- การวินิจฉัยคือ การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง 
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้ 
- ครูสันนิษฐานได้เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เพราะเด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา (ไม่ควรพูดย้ำพฤติกรรม)
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่า เด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่า เด็กทำอะไรไม่ได้

ครูควรทำอะไรบ้าง?
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ โดยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ โดยเน้นสังเกตคนที่สงสัยแต่ต้องดูเด็กทุกคน (โดยภาพรวม) เพราะไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู ซึ่งครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า โดยสังเกตเป็นช่วงกิจกรรม

ประโยชน์ของการตรวจสอบ
    จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต มี 3 แบบ คือ
แบบที่ 1. การนับอย่างง่ายๆ : นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมกี่คร้ังในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง รวมถึงระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
แบบที่ 2. การบันทึกต่อเนื่อง : ให้รายละเอียดได้มาก บันทึกได้ทุกช่วง สามารถบันทึกพฤติกรรม บันทึกคำพูดเป็นคำๆ เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด และเห็นภาพรวมมากที่สุด
แบบที่ 3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง : เป็นการบันทึกลงในบัตรเล็กๆ บันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน บันทึกแค่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง แค่ช่วงเวลาสั้นๆ

    การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป : ครูควรเอาใจใส่ระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง 
    การตัดสินใจของครู : ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวังว่า พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำไปใช้
1. ครูไม่ควรวินิจฉัยว่าเด็กเป็นอะไร แต่สันนิษฐานได้ เพื่อเป็นข้อมูล
2. ไม่ควรตั้งฉายาให้เด็ก
3. ควรจดพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ โดยการเขียนทุกอย่างที่เด็กพูด จดทุกอย่างที่เด็กทำ และเขียนความจริง
4. ควรคิดเสมอว่า พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

กิจกรรมในคาบเรียน : วาดดอกกุหลาบตามตัวอย่างที่กำหนดให้ พร้อมเขียนคำบรรยายภาพจากสิ่งที่ตนเองได้เห็น



จากกิจกรรม สามารถสื่อถึงวิชานี้ได้ว่า : ในการสังเกตเด็ก เราควรสังเกตแล้วจดบันทึกในสิ่งที่เห็น จดบันทึกตามความเป็นจริง โดยที่ไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วย

เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น