บันทึกอนุทิน
วิชา...การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่ม 102 วันเวลาเรียน วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.
ครั้งที่ 4 วันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
การสอนพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ : มองเด็กให้เป็นเด็ก
การฝึกเพิ่มเติม : การอบรมระยะสั้น การสัมมนา
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง (พฤติกรรมคล้ายกัน)
- ครูต้องเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน (ชื่อจริง นามสกุล ชื่อเล่น)
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า : การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส : ถ้าโอกาสของเด็กน้อย เราไม่ควรปิดกั้น
การบันทึกพฤติกรรมเด็ก
บันทึกพฤติกรรมเด็กทุกครั้งที่ทำกิจกรรมการเรียน การเล่น ควรดูอย่างละเอียด เมื่อพบพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นหรือจุดด้อยก็ควรส่งเสริมทั้งสองอย่าง และควรทำเป็นประจำและเป็นระบบ
การสอนโดยบังเอิญ : เป็นการสอนที่ให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ แล้วมีความรู้สอดแทรกในกิจกรรมนั้น เช่น กิจกรรมศิลปะ หรือการเล่น
บทบาทของครู : ต้องพร้อมที่จะพบเด็ก มีความสนใจเด็ก มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีอุปกรณ์มีลักษณะง่ายๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง มีกิจกรรมที่ล่อใจเด็ก และกิจกรรมต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ทำอยู่เป็นประจำ กิจกรรมต้องเรียงเป็นลำดับขั้นตอน และเด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
ตัวอย่างตารางกิจกรรมของเด็กพิเศษ
- เลนอิสระ, เคลื่อนไหว, เรียนเสริมประสบการณ์, ศิลปะ, เล่นเสรี, รับประทานของว่าง, เรียนดนตรี, เล่นกลางแจ้ง, เล่นเสรี, ทานอาหาร, นอนพักผ่อน, ฟังนิทานหรือเล่น, รอผู้ปกครองมารับ
ทัศนคติของครู
- แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
- เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา : การชม
- พยักหน้ารับ ยิ้ม รับฟัง
- สัมผัสทางกาย : ลูบหัว กอด หอมแก้ม ถ้าเด็กไม่ค่อยฟังก็เข้าไปกอด
หลักการให้แรงเสริม
- ต้องให้แรงเสริมทันที่ที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
- ชมเฉพาะเรื่องที่เป็นเป้าหมายที่จะสอน เช่น การจับสีวาดภาพ
การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
- การย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- งดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
เมื่อสอนมาแบบใดมาทั้งเทอม ก็ควรสอนแบบนั้นอยู่ ให้ความสำคัญกับการสอนอยู่เสมอ
กิจกรรมในคาบเรียน : วาดภาพมือ(ที่ใส่ถุงมือไว้)ของตัวเองให้เหมือนมือที่ไม่ได้ใส่ถุงมือให้เหมือนที่สุด
ข้อคิดจากกิจกรรม : การมองและการสังเกตเด็ก เราควรที่จะมองและสังเกตในสิ่งที่เด็กเป็นจริงๆ ไม่ควรใส่ความรู้สึกของตนเองลงไป
เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์
เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี
เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน